top of page

12 โรคร้าย ผลเสียของการนอนไม่หลับ

  • รูปภาพนักเขียน: MiNANTA
    MiNANTA
  • 29 พ.ย. 2566
  • ยาว 1 นาที

12 โรคร้าย ผลเสียของการนอนไม่หลับ

12 โรคร้าย ผลเสียของการนอนไม่หลับ

ใครที่มีพฤติกรรมชอบนอนดึก นอนน้อย หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ อีกไม่นานคุณอาจจะเผชิญกับผลลัพธ์ของการพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเกิด 12 โรคและภาวะนี้ตามมา

นอกจากความอ่อนเพลีย และผื่นตามผิวหนังที่เห็นได้ชัดแล้ว หลายคนคิดไม่ถึงว่าโรคร้ายแรงที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดัน ก็เป็นผลลัพธ์ทางอ้อมที่เกิดจากการนอนดึกเช่นกัน และนี่คือตัวอย่างอาการ และผลเสีย หากคุณยังคงนอนน้อยต่อไป

โรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับยาก นอนไม่ทน ชอบตื่นกลางดึก และมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันมากกว่า 3 วัน / สัปดาห์ มานานกว่า 3 เดือน จนเริ่มมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสาเหตุนั้นมีหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

เมื่อคุณนอนน้อย นอนไม่หลับ ติดต่อกันจนเป็นโรคเรื้อรัง คุณจะรู้สึกทรมานกับการอยากนอน แต่นอนไม่ได้ หลับไม่ลง ทำงานไม่ไหว สมองตื้อ ความจำไม่ดี ร่างกายอ่อนเพลีย อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

การเข้านอนผิดเวลาธรรมชาติ นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน หรือที่เรียกว่านาฬิกาชีวิตพัง สามารถส่งผลให้ร่างกายใช้อินซูลินได้น้อยลง ระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติไป ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานได้แย่ลง ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะดื้อต่ออินซูลินได้

หากเป็นเบาหวาน คุณจะต้องเผชิญกับอาการ มือเท้าชา ตาพร่า ติดเชื้อง่าย เกิดโรคแทรกซ้อนที่น่ากลัวตามมา


โรคหัวใจ

โรคหัวใจ

การนอนน้อยจะทำให้คุณ มีความดันเลือดสูงมากผิดปกติ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากถึง 2 เท่า โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดโรคหัวใจที่มีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

เมื่อเป็นโรคหัวใจ ชีวิตคุณอาจหมดสนุก ทั้งขาบวม เหนื่อยง่าย หอบบ่อย เจ็บหน้าอก นอนราบไม่ได้ รวมถึงอาจส่งผลไปยังโรคหัวใจร้ายแรงอื่นๆ เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน


โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

การนอนหลับสนิท ทำให้ความดันโลหิตลดลง แต่ถ้าพักผ่อนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง จะทำให้มีฮอร์โมนควบคุมความเครียดน้อยลง ส่งผลให้เกิดสภาวะความดันโลหิตสูงได้ง่ายขึ้น

อาการอาจไม่แสดงออก แต่สามารถทำให้คุณเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจวาย หลอดเลือดโป่งพอง จอประสาทตาเสื่อมได้



เซ็บเดิร์ม

เซ็บเดิร์ม

หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน เรียกได้ว่าเป็นโรคผิวหนังประจำตัวของคนนอยน้อย มักเป็นบริเวณข้างจมูก เหนือคิ้ว คาง หรือลามลงมาจนถึงหน้าอก แม้หายแล้วก็กลับมาเป็นอีกได้

คุณจะรู้สึกรำคาญใจ ผิวหนังลอกเป็นขุย ปวด คัน ตกสะเก็ด ยิ่งถ้าเผลอเครียดยิ่งอาการรุนแรง ผิวพรรณที่เคยสวยงามอาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้


ผื่นผิวหนัง

ผื่นผิวหนัง

งูสวัด มักเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อวาริเซลลาซอสเตอร์ ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งในกลุ่มไวรัสเริม มักแสดงอาการเมื่อร่างกายอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันต่ำลง เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ

นอกจาจะมีอาการแสบร้อน ปวดเมื่อยตามร่างกายแล้ว หากงูสวัดขึ้นในเส้นประสาทตรงจุดอันตรายของอวัยวะ เช่น เส้นประสาทตา อาจจะทำให้ตาบอดได้ หรือสามารถทำให้เยื้อหุ้มสมองอักเสบได้


ภูมิคุ้มกันต่ำ

ภูมิคุ้มกันต่ำ

การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันลดต่ำลง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนลดลง

คุณจะรับเชื้อได้มากขึ้น เป็นหวัดง่าย ป่วยบ่อย เกิดผื่นผิวหนังตามตัว หรือแม้แต่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดอุดตันในอนาคตได้


สมรรถภาพทางเพศเสื่อม

สมรรถภาพทางเพศเสื่อม

การนอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ฮอร์โมน “เทสโทสเทอโรน” นั้นต่ำลง ซึ่งทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลงไปด้วย

ชีวิตคู่ของคุณอาจเริ่มมีปัญหา ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิง ไม่ว่าจะการที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือหมดอารมณ์ทางเพศ


อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์

เกิดจากการสะสมโปรตีนที่เป็นพิษในสมอง เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ ซึ่งปกติสมองจะสามารถกำจัดสารพิษนี้เองได้ขณะหลับ แต่การนอนน้อย นอนไม่มีประสิทธิภาพ หรือเกิดภาวะบางอย่างที่ไม่รู้ตัว เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ จะทำให้เกิดการสะสมของสารพิษ จนทำลายเซลล์สมอง และทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

นอกจากความจำที่ถดถอย การเคลื่อนไหวร่างกายและการควบคุมอวัยวะภายต่างๆ ก็จะเสื่อมลง รวมทั้งสูญเสียทักษะการใช้ภาษาอีกด้วย


ระบบย่อยอาหารผิดปกติ

ระบบย่อยอาหารผิดปกติ

หากร่างกายที่ทำงานเหนื่อยล้ามาทั้งวัน ไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ สามารถทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย และท้องผูกได้

หากคุณมีอาการดังกล่าวบ่อยๆ เมื่อสะสมนานวันเข้าอาจทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวนได้


ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า

รู้ไหมว่าคนที่นอนน้อย มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่พักผ่อนอย่างเพียงพอถึง 10 เท่า ยิ่งนอนดึกสะสม สมองจะทำงานแย่ลงในระยะเวลา 2 ปี เพราะฮอร์โมนในร่างกายและสารเคมี “ซีโรโทนิน” และ “เอนดอร์ฟิน” ที่เป็นสารแห่งความสุขจะลดต่ำลง ส่งผลเสียต่ออารมณ์หลังตื่นนอน หงุดหงิดง่าย อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ

ความรุนแรงของอาการซึมเศร้ามักแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่สารเคมีในสมองที่เปลี่ยนไป มักทำให้เกิดการหดหู่ ทรมานใจ คิดมาก จนกลายเป็นโรคซึมเศร้าระยะยาวในที่สุด


ฮอร์โมนแปรปรวน

ฮอร์โมนแปรปรวน

การนอนน้อย จะไปลดระดับฮอร์โมนที่มีหน้าที่ควบคุมความอิ่ม ทำให้ยิ่งรู้สึกหิว แถมยังไปกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารประเภทมันๆ แป้งๆ ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนง่าย มวลกล้ามเนื้อลดลง

แม้จะออกกำลังกายหรือพยายามทานคลีน แต่คุณจะยังคงอ้วนลงพุง เพราะการเผาผลาญของร่างกายนั้นเสื่อมลง มีกรณีศึกษา ลองให้คนน้ำหนักเกิน 2 กลุ่มทำการไดเอท โดยแยกเป็นคนนอนน้อย กับนอนเต็มที่ ผลลัพธ์คือ คนที่นอนน้อย น้ำหนักจะลดจากกล้ามเนื้อมากกว่าคนนอนเยอะ ซึ่งถ้ามวลกล้ามเนื้อหายไปสัก 10 กิโลกรัม อัตราเผาผลาญจะสามารถลดลงได้ถึง 100 แคลอรี่ต่อวันเลยทีเดียว


อย่าปล่อยให้การนอนน้อยเป็นนิสัยทำร้ายสุขภาพของคุณไปมากกว่านี้ พักผ่อนให้เพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการในช่วงวัย

ใครกำลังเผชิญกับอาการง่วงนอนแต่นอนไม่หลับ หรือโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง รีบทักมาปรึกษาแพทย์ที่มินันตา เพื่อหาวิธีแก้ที่เหมาะกับคุณที่สุดนะคะ








Commenti


MiNANTA Anti Aging Medical Center

301 ถนนพุทธมณฑลสาย 2 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160

© 2019 by MiNANTA

Tel: 02-107-1937  

Email: Info@MiNANTA.com

  • Black Facebook Icon
  • Black Instagram Icon
  • line_logo_icon_145104
bottom of page