top of page

อาการบ่งชี้โรคนอนไม่หลับ

  • รูปภาพนักเขียน: MiNANTA
    MiNANTA
  • 4 ก.ย. 2566
  • ยาว 1 นาที

อาการบ่งชี้โรคนอนไม่หลับ

ร้อยละ 30-40 ของประชากรไทย กำลังเผชิญกับปัญหาโรคนอนไม่หลับ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี อีกทั้งยังมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ขาดความเข้าใจในการดูแลรักษาโรคนอนไม่หลับอย่างถูกวิธี และเลือกที่จะซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว และอาจส่งผลกระทบ เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าตามมา


ลักษณะอาการนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับคืออะไร?

อาการบ่งชี้โรคนอนไม่หลับ โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia เป็นปัญหาที่สามารถพบได้ทุกเพศและวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และเพศหญิง โดยเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการนอนหลับ จนก่อนให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย รู้สึกอ่อนเพลีย เกิดอาการหลงๆ ลืมๆ จนถึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นโรคผิวหนัง โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ และอื่นๆ อีกมากมาย




แบบไหนที่เรียกว่านอนไม่หลับ?

อาการนอนไม่หลับในแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ซึ่งหลายคนอาจกำลังมองข้ามการนอนที่ผิดปกติของตนเอง โดยไม่รู้ว่าอาการเช่นนี้ คืออาการที่เข้าข่ายโรคนอนไม่หลับ


1. หลับยาก

ใช้เวลานานกว่าจะหลับ อาจนอนพลิกไปมามากกว่า 20 นาทีขึ้นไป จนต้องพึ่งตัวช่วยก่อนนอน

2. หลับๆ ตื่นๆ

อาการเดี๋ยวหลับเดี๋ยวตื่น หลับไม่สนิท เหมือนรู้สึกตัวตลอดเวลา

3. หลับไม่ทน

มักรู้สึกตัวตื่นกลางดึก ไม่สามารถข่มตานอนต่อได้ จนสุดท้ายอ่อนเพลียเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ




สาเหตุโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับเกิดจากอะไร?

สาเหตุของผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับ อาจมีสาเหตุได้หลากหลาย แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แต่ 80% ของผู้ป่วย มักมีจุดร่วมเดียวกัน


1. พฤติกรรมและอารมณ์ เช่น การทำงานเป็นกะ ตื่นและนอนไม่เป็นเวลา เดินทางบ่อย งานหนัก มีความเครียดสะสม ซึ่งมักพบในวัยทำงาน เพราะมีเรื่องต้องคิดและห่วงตลอดเวลา จนไม่สามารถละวางได้ แม้กำลังเข้านอน


2. สภาพแวดล้อมในการนอน บรรยากาศในการนอนของคุณอาจถูกรบกวนทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว เช่น กลิ่นไม่พึงประสงค์ เสียงรบกวน แสงไฟที่ลอดผ่าน ริ้นไรหรือแมลงบนที่นอน หรือแม้แต่

ชุดเครื่องนอนที่ระคายเคืองผิว


3. สภาพร่างกาย หรือโรคประจำตัว หลายท่านอาจมีโรคอื่นร่วม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การนอนนั้นไม่สบายตัวเท่าที่ควร เช่น โรคกรดไหลย้อน อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคซึมเศร้า วัยทอง และอื่นๆ อีกมากมาย


4. อาหารและเครื่องดื่ม การดื่มคาแฟอีน แอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ก่อนนอน อาจทำให้ร่างกายตื่นตัว รู้สึกร้อนผ่าวจากภายใน ทำให้นอนหลับยาก


5. ยารักษาโรค ยาบางประเภทมีฤทธิ์กระตุ้นสมอง ทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว ลดการทำงานของสารสื่อประสาทที่ช่วยให้หลับ โดยมักเป็นยาที่ใช้รักษาโรคทางระบบประสาทและจิตเวท รวมถึงยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาแก้คัดจมูก หรือยาฆ่าเชื้อบางชนิด


การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับทำได้อย่างไร?

1. พูดคุยซักประวัติ รูปแบบความผิดปกติของการนอนหลับ ระยะเวลาที่เป็น ความรุนแรงของอาการ และผลแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ตามมา


2. วินิจฉัยสาเหตุ ในบางคนรู้สาเหตุได้ด้วยตนเอง แต่บางคนไม่รู้สาเหตุที่ทำให้นอนผิดปกติ จึงต้องอาศัยการตรวจเลือดร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะต่อมหมวกไตล้า ภาวะวัยทองทั้งเพศหญิงและเพศชาย


วิธีรักษาโรคนอนไม่หลับ

วิธีแก้ไขเบื้องต้น

  1. หยุดพักการทำงานช่วงก่อนเข้านอน เพื่อทำสมองและจิตใจให้ปลอดโปร่ง

  2. หากิจกรรมผ่อนคลายสมองและอารมณ์ก่อนนอน เช่น การอ่านหนังสือ หรือฟังเพลง

  3. สร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการนอน เช่น ทำห้องให้มืดสนิท จุดเทียนหอมผ่อนคลาย

  4. นวดตัวด้วยน้ำมันอโรม่า เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เตรียมพร้อมสำหรับการพักผ่อน

  5. งดการทานชา/กาแฟ การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ก่อนนอน เปลี่ยนมาดื่มชาสมุนไพรที่ปราศจากคาแฟอีน เช่น ชาคาโมมายด์ ชาลาเวนเดอร์ หรือนมอุ่นๆ

  6. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากต้องการใช้ยานอนหลับ


วิธีรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับระยะสั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่โรคนอนไม่หลับเรื้อรังและรุนแรง ต้องใช้วิธีการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยแบ่งการรักษาแบบใหญ่ๆตามสาเหตุออกเป็น 2 กลุ่มคือ สาเหตุทางด้านร่างกาย และ ด้านจิตใจ


สาเหตุทางด้านร่างกาย เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะต่อมหมวกไตล้า ภาวะวัยทองทั้งเพศหญิงและเพศชาย มีทางเลือกในการบำบัดฟื้นฟูร่างกายด้วยอาหารเสริม และการใช้ฮอร์โมนทดแทน


สาเหตุทางด้านจิตใจ ความเครียด และความวิตกกังวล อันเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด สามารถพูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยาบำบัด หรือ ทำการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจด้วยศาสตร์การนวดแบบองค์รวม อันผสานเทคนิคของแพทย์แผนไทยร่วมกับกลิ่นบำบัด หรืออโรม่าเทอราพีเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้อาการนอนหลับดีขึ้นเป็นลำดับอย่างปลอดภัย


ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพมินันตา นำโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลปัญหาโรคนอนไม่หลับ มุ่งหาวิธีแก้ไขอย่างตรงจุด โดยวินิจฉัยเป็นรายบุคคลโดยละเอียด หากท่านเป็นโรคนอนไม่หลับ หรือสงสัยว่าอาการของท่านเข้าข่ายหรือไม่ ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา พร้อมให้การวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดี และให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงสืบไป

โปรแกรม Deep Sleep - รักษาโรคนอนไม่หลับ


Comentarios


MiNANTA Anti Aging Medical Center

301 ถนนพุทธมณฑลสาย 2 แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160

© 2019 by MiNANTA

Tel: 02-107-1937  

Email: Info@MiNANTA.com

  • Black Facebook Icon
  • Black Instagram Icon
  • line_logo_icon_145104
bottom of page